JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0
Menu

โฮมเกษตร จะไขข้อสงสัยว่ากล้วยในประเทศไทย มีกี่สายพันธ์ุ

2018-07-07 13:03:15 ใน โฮมเกษตรวาไรตี้ » 0 2188
    

กล้วย เป็นผลไม้ที่คนไทยนิยมรับประทาน เพราะมีกลิ่นหอม  หาซื้อง่ายและราคาไม่แพงมาก กล้วยเป็นผลไม้ที่มีมาช้านานตั้งแต่สมัยโบราณ  เป็นสินค้าเกษตรที่ที่มีการส่งออกเป็นจำนวนมาก ถือได้ว่าเป็นผลไม้ที่สารพัดประโยชน์  มีเส้นใยและกากอาหารสูง ให้พลังงานเยอะ  อุดมไปด้วยแร่ธาตุต่างๆมากมาย  อย่ารอช้าเราไปรู้จักสายพันธ์ของกล้วยกันดีกว่า
กล้วยในประเทศไทยนั้นแบ่งออกเป็น  8 กลุ่ม

1. กลุ่ม AA
กล้วยกลุ่มนี้จะมีลักษณะขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม รสชาติหวาน สามารถรับประทานสดได้   ได้แก่ กล้วยไข่  กล้วยเล็บมือนาง กล้วยหอมจันทร์ กล้วยไข่ทองร่วง กล้วยไข่จีน กล้วยน้ำนม กล้วยไล กล้วยสา กล้วยหอม กล้วยหอมจำปา  และกล้วยทองกาบดำ

2.กลุ่ม AAA
กล้วยกลุ่มนี้จะมี ขนาดที่ใหญ่กว่ากลุ่ม AA ลักษณะ รูปร่างผลเรียวยาว มีเนื้อนุ่ม รสชาติหวาน กลิ่นหอม รับประทานสด ได้แก่ กล้วยหอมทอง กล้วยนาก กล้วยครั่ง กล้วยหอมเขียว กล้วยกุ้งเขียว กล้วยหอมแม้ว กล้วยไข่พระตะบอง และกล้วยคลองจัง
 
3.กลุ่ม BB
กล้วยกลุ่มนี้มีในประเทศไทย ได้แก่ กล้วยตานี  ซึ่งเป็นกล้วยป่าชนิดหนึ่ง แต่ไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย รับประทานผลอ่อนได้ โดยนำมาใส่แกงเผ็ด ทำส้มตำ ไม่นิยมรับประทานผลแก่ เพราะมีเมล็ดมาก แต่คนไทยและคนเอเชียส่วนใหญ่รับประทานปลีและหยวก ไม่มีกล้วยกินได้ในกลุ่ม BB ในประเทศไทย แต่พบว่ามีที่ประเทศฟิลิปปินส์

4. กลุ่ม BBB 
กล้วยในกลุ่มนี้เกิดจากกล้วยตานี (Musa balbisiana) เนื้อไม่ค่อยนุ่ม มีแป้งมาก เมื่อสุกแล้วก็ยังมีแป้งมากอยู่  จึงไม่ค่อยหวาน ขนาดผลใหญ่ เมื่อนำมาทำให้สุกด้วยความร้อน จะทำให้รสชาติดีขึ้น เนื้อเหนียวนุ่ม  เช่น กล้วยเล็บช้างกุด

5.  กลุ่ม AAB
กล้วยกลุ่มนี้เมื่อผลสุกมีรสชาติดีกว่ากล้วยกลุ่ม ABB ได้แก่ กล้วยน้ำ กล้วยน้ำฝาด กล้วยนมสวรรค์ กล้วยนิ้วมือนาง กล้วยไข่โบราณ กล้วยทองเดช กล้วยศรีนวล กล้วยขม กล้วยนมสาว แต่มีกล้วยกลุ่ม AAB บางชนิดที่มีความคล้ายกับ ABB กล่าวคือ เนื้อจะค่อนข้างแข็ง มีแป้งมาก เมื่อสุกเนื้อไม่นุ่ม ทั้งนี้อาจได้รับเชื้อพันธุกรรมของกล้วยป่าที่ต่างชนิดย่อยกัน จึงทำให้ลักษณะต่างกัน กล้วยในกลุ่มนี้เรียกว่า กลุ่มย่อยกล้าย หรือกล้ายแท้ ซึ่งจะต้องทำให้สุกโดยการต้ม ปิ้ง เผา เช่นเดียวกับกลุ่ม ABB ได้แก่ กล้าย กล้วยงาช้าง กล้วยนิ้วจระเข้ กล้วยหิน และกล้วยพม่าแหกคุก

6. กลุ่ม ABB
กล้วยกลุ่มนี้เป็นลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี มีแป้งมาก ขนาดผลใหญ่ ไม่นิยมรับประทานสด เพราะเมื่อสุกรสไม่หวานมาก บางครั้งมีรสฝาด เมื่อนำมาต้ม ปิ้ง ย่าง และเชื่อม จะทำให้รสชาติดีขึ้น ได้แก่ กล้วยหักมุกเขียว กล้วยหักมุกนวล กล้วยเปลือกหนา กล้วยส้ม กล้วยนางพญา กล้วยนมหมี กล้วยน้ำว้า สำหรับกล้วยน้ำว้าแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด ตามสีของเนื้อ คือ น้ำว้าแดง น้ำว้าขาว และน้ำว้าเหลือง คนไทยรับประทานกล้วยน้ำว้า ทั้งผลสด ต้ม ปิ้ง และนำมาประกอบอาหาร นอกจากนี้ยังมีกล้วยน้ำว้าดำ ซึ่งเปลือกมีสีครั่งปนดำ แต่เนื้อมีสีขาว รสชาติอร่อยคล้ายกล้วยน้ำว้าขาว สำหรับกล้วยตีบ เหมาะที่จะรับประทานผลสด เพราะเมื่อนำไปย่าง หรือต้มจะมีรสชาติฝาด

7. กลุ่ม ABBB
กล้วยในกลุ่มนี้เป็นลูกผสมเช่นกัน จึงมีแป้งมาก และมีอยู่พันธุ์เดียวคือ กล้วยเทพรส หรือกล้วยทิพรส ผลมีขนาดใหญ่มาก บางทีมีดอกเพศผู้หรือปลี บางทีไม่มี ถ้าหากไม่มีดอกเพศผู้ จะไม่เห็นปลี และมีผลขนาดใหญ่ ถ้ามีดอกเพศผู้ ผลจะมีขนาดเล็กกว่า มีหลายหวีและหลายผล การมีปลีและไม่มีปลีนี้เกิดจากการกลายพันธุ์แบบกลับไปกลับมาได้ ดังนั้นจะเห็นว่า ในกอเดียวกันอาจมีทั้งกล้วยเทพรสมีปลี และไม่มีปลี หรือบางครั้งมี ๒ - ๓ ปลี ในสมัยโบราณเรียกกล้วยเทพรสที่มีปลีว่า กล้วยทิพรส กล้วยเทพรสที่สุกงอมจะหวาน เมื่อนำไปต้มมีรสชาติฝาด
 
8.กลุ่ม AABB
กล้วยกลุ่มนี้ เป็นลูกผสมมีเชื้อพันธุกรรมของกล้วยป่ากับกล้วยตานี กล้วยในกลุ่มนี้มีอยู่ชนิดเดียวในประเทศไทย คือ กล้วยเงิน ผลขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายกล้วยไข่ เมื่อสุกผิวสีเหลืองสดใส เนื้อผลสีส้ม มีแป้งมาก รับประทานผลสดนอกจากกล้วยดังที่ได้กล่าวแล้ว ยังมีกล้วยป่าที่เกิดในธรรมชาติซึ่งมีเมล็ดมาก ทั้งกล้วยในสกุล Musa acuminata และ Musa itinerans หรือที่เรียกว่า กล้วยหก หรือกล้วยอ่างขาง และกล้วยป่าที่เป็นกล้วยประดับ เช่น กล้วยบัวสีส้ม และกล้วยบัวสีชมพู
 
 
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2012-05-30
จำนวนสมาชิก : 444 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-02-01
จำนวนครั้งที่ชม : 1,940,742 ครั้ง
Online : 6 คน
จำนวนสินค้า : 86 รายการ
Solution Graphics
                                                                          
เพิ่มเพื่อน